คอมพิวเตอร์, ทดลองเล่น, โปรแกรม

วิธีซ่อมแซมฮาร์ดดิสให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

แบดเซคเตอร์ (Bad Sector) ที่ว่านี้ก็คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งในฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แบบจานหมุน (คนละแบบกับ SSD นะ อย่าเข้าใจผิด) ทดลองเล่นที่ทำงานผิดปกติ หรือมีอาการอ่านเขียนข้อมูลไม่ได้ ส่งผลให้เวลาเปิดดูไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่มีจุด Bad Sector อยู่ มักจะเกิดอาการคอมฯ ค้าง (Not Responding) อยู่เป็นประจำ หรือในกรณีที่เกิด Bad Sector บนไดรฟ์สำคัญๆ ที่เก็บ Windows จะทำให้เกิดอาการจอฟ้า (Blue Screen of Dead) จนไม่สามารถบูทเข้าระบบฯ ได้ เรียกได้ว่าใครเจออาการแบบนี้ไป ก็เตรียมตัวเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ได้เลย

โดยทั่วไปแล้ว Bad Sector จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • Hard Bad Sector หรือ “แบดแท้” อธิบายง่ายๆ เลยคือ การเกิดความเสียหายทางกายภาพแบบถาวรบนแถบสารเคลือบแม่เหล็ก กับหัวอ่าน (คล้ายรอยขีดข่วนหนักๆ บนแผ่น CD / DVD / Blu-Ray) ในกรณีนี้ ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ถ้าโดนเข้าไปคงต้องทำใจเลย
  • Soft Bad Sector หรือ “แบดเทียม” อาการที่ว่า เกิดจากตัวระบบฯ ทำงานผิดพลาด เช่น ตัวฮาร์ดดิสก์กับระบบฯ จำตำแหน่งข้อมูลคลาดเคลื่อนจากจุดเดิม ส่งผลให้อ่านข้อมูลไม่ได้ ในกรณีนี้สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ แต่ไม่หายแบบถาวรนะ มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำอีก

ต้นสายปลายเหตุของการเกิด Bad Sector

เมื่อรู้กันไปแล้วว่า Bad Sector มีอยู่ 2 รูปแบบ ทีนี้ลองมาดูกันว่า “แบดแท้” และ “แบดเทียม” จะเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

  • แบดแท้ (Hard Bad Sector) เกิดจากการกระทำโดยตรงต่อฮาร์ดดิสก์ เช่น
    • ภาคจ่ายไฟไม่เสถียร ไฟกระชาก จ่ายไฟเกิน ไฟลัดวงจร ทำให้หัวอ่านขูดกับตัวจาน
    • เกิดการกระแทกหรือสั่นสะเทือนแรงๆ ขณะทำงาน
    • ชิ้นส่วนภายในเสื่อมสภาพตามอายุ
    • ความร้อนสูงเกินไป
    • ชิ้นส่วนที่นำมาประกอบ ไม่ได้มาตรฐาน
    • ฯลฯ
  • แบดเทียม (Soft Bad Sector) เกิดจากการทำงานผิดพลาดของระบบฯ เช่น
    • ฮาร์ดดิสก์จดจำตำแหน่งข้อมูลผิดพลาด
    • คอมฯ ดับระหว่างเขียนข้อมูล ทำให้ข้อมูลหายไป
    • ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และระบบฯ ไม่ตรงกัน
    • ฯลฯ

สังเกตได้ว่า แบดแท้จะเกิดจากการกระทำโดยตรง ส่วนแบดเทียมจะเป็นที่ระบบฯ คงพอเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับเจ้า Bad Sector แล้วใช่ไหมครับ ว่ามันคืออะไร และเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ทีนี้มาถึงขั้นตอนการตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์กันบ้างว่าจะมีเจ้า Bad Sector หรือไม่

วิธีซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์ที่ติด Bad Sector

ฮาร์ดดิสก์เกิด Bad Sector แบบ “แบดเทียม” สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ แต่ไม่รับประกันนะว่า จะไม่เกิดอีก โดยวิธีการซ่อม Bad Sector แบ่งออกเป็น 2 กรณีหลักๆ คือ บูทเข้าระบบฯ ได้ กับ บูทเข้าไม่ได้สองกรณีนี้ มีวิธีการซ่อมแซมที่แตกต่างกัน โดยกรณีแรกมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า เพราะมันสามารถบูทเข้าไปในระบบปฎิบัติการ Windows แล้วใช้ฟีเจอร์ Error Checking (ที่มีติดมากับระบบฯ อยู่แล้ว) ในการสแกนและซ่อมแซม Bad Sector ด้วยการกดเพียงไม่กี่ครั้ง แล้วก็รอจนเสร็จ ดูขั้นตอนการทำที่ด้านล่าง

  1. “คลิกขวา” เลือกที่หัวข้อ Properties ที่ไดรฟ์
  2. เลือกหัวข้อ Tools จากนั้นก็กดปุ่ม Check ในหัวข้อ Error Checking
  3. จากนั้นก็กดปุ่ม Scan Drive (Windows 10)
    • (Windows 7) ติ๊กที่หัวข้อ Automatically fix file system errors และ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วกดปุ่ม Start
  4. จากนั้นก็รอจนเสร็จ แล้วทำการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ 1 ครั้ง

วิธีซ่อมฮาร์ดดิสก์ที่ติด Bad Sector ผ่าน Flash Drive

  1. เอาแฟลชไดรฟ์ที่ติดตั้งโปรแกรมมาเสียบกับคอมฯ ที่ฮาร์ดดิสก์ติด Bad Sector
  2. บูทเข้าหน้าแฟลชไดรฟ์

เมื่อบูทได้แล้วจะเข้ามาอยู่ในหน้าหลักของโปรแกรม HDD Recovery จากนั้นใส่ตัวเลขเพื่อเลือกฮาร์ดดิสก์ที่ติด Bad Sector (ในกรณีมีฮาร์ดิสก์หลายลูก)

  1. พิมพ์เลข 2 แล้วกด Enter เพื่อเลือกประเภทการสแกน
  2. พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter เพื่อเลือกสแกนและซ่อมแซม
  3. พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter เพื่อเลือกจุดเริ่มต้น
  4. รอจนโปรแกรมทำการสแกนและซ่อมแซมจนเสร็จ (ส่วนเวลาที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ ยิ่งความจุเยอะ ยิ่งใช้เวลานาน)

สุดท้ายลองเช็คดูว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณที่ทำการสแกนไปแล้วนั้น มี Bad Sector ทั้งหมดกี่จุด และแต่ละจุดอยู่ตรงไหนบ้างโดยดูที่ด้านล่าง ตรงข้อความ “bad sectors found” กับ “bad sectors recovered” หรือกด ESC ทดลองเล่นเพื่อออกไปเลือกที่หัวข้อ Show Statistics เพื่อดูตำแหน่งก็ได้ถ้าหากจุดไหนที่สามารถซ่อมได้ มันจะขึ้นตัวอักษร R (Repaired) ให้เห็นแต่ถ้าจุดไหนที่ซ่อมไม่ได้มันจะขึ้นเป็นตัวอักษร B (Bad) ถ้าไม่แน่ใจก็ลองสแกนซ้ำดูอีกทีก็ได้ แต่ถ้าสแกนซ้ำยังเหมือนเดิม ให้คาดเดาไว้เลยว่าเปิด “แบดแท้” ซ่อมด้วยโปรแกรมไม่ได้

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *