คอมพิวเตอร์, ซอฟแวร์, ทดลองเล่น

รวม 3 ปัญหาหลักเหี่ยวกับ Network

ปัญหาของเครือข่ายเป็นเรื่องสลับซับซ้อน และไม่สามารถที่จะบอกที่มาของปัญหาได้ทันทีทันใด อีกทั้งไม่สามารถพึ่งอาศัยจากประสบการณ์ในอดีต เพื่อการวินิจฉัยปัญหาได้ เนื่องจากปัญหาของระบบเครือข่ายมีสาเหตุได้มากมายหลายระดับชั้น (ในที่นี้หมายถึง ระดับชั้นภายใต้  OSI Model) ดังนั้น ทดลองเล่นก่อนที่จะลงมือวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาของเครือข่าย

 Document Version Control System ช้า ทำให้งานช้าตามไปด้วย

ปัญหาข้อนี้สำหรับองค์กรที่มีระบบ Process ในการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนก็น่าจะพบกัน คือระบบ Document Version Control System ทำงานได้ไม่ทันใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานกันเป็นทีมใหญ่ๆ มี Document Version Control System แค่เครื่องเดียว แต่ใช้งานร่วมกันหลายๆ คน หรือหลายๆ ทีมในบางครั้งสำหรับปัญหานี้คงต้องดูเป็นเคสๆ ไปค่ะว่ามันไปช้าที่ตรงไหน? มันช้าที่ CPU ไม่พอ? Ram หมด? หรือว่า Disk IO ไม่พอ? หรือช้าตั้งแต่ Network? แต่โดยรวมแล้วปัญหาข้อนี้จัดอยู่ในข่าย Performance Tuning ตามปกติเลยต้อง หาต้นตอให้เจอ แล้วเกาให้ถูกที่คัน ก็น่าจะช่วยได้ ถ้ามีโอกาส เดี๋ยวทาง Throughwave Thailand จะมาลองแชร์ไอเดียเรื่องแนวคิดในการเลือกเครื่องสำหรับ Version Control System โดยเฉพาะ

ปัญหาในการวางระบบจัดเก็บและแบ่งปันไฟล์ข้อมูล (File Sharing)

ระบบ File Sharing เหมือนจะเป็นระบบพื้นฐานที่เราทุกคนในสาย IT รู้จักกันดี แต่น้อยครั้งมากที่จะเห็นระบบ File Sharing ที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงสำหรับทุกคนในองค์กร  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความช้าในการทำงาน, การติดไวรัส, การไม่สามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานได้, ไฟล์ไม่เป็นระบบระเบียบ ทำให้สุดท้ายแล้วในระบบ File Sharing เต็มไปด้วยไวรัส และไฟล์ผิดกฎหมายต่างๆ มากมาย แต่แทบจะไม่มีการแชร์ไฟล์งานเกิดขึ้นกันเลยสำหรับการแก้ปัญหาเบื้องต้น จริงๆ แล้วในทุกๆ ระบบปฏิบัติการจะมี Software สำหรับทำ File Sharing ของตัวเองอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น Microsoft Windows Server ก็มี File Sharing Service อยู่ สิ่งที่ควรจะทำก็คือการกำหนดสิทธิ์บน Microsoft Active Directory แล้วผูกเข้ากับ File Sharing Service นั่นเอง โดยให้ผู้ดูแลระบบเป็นคนกำหนดสิทธิ์ในแต่ละ Folder ให้ผู้ใช้งานเลย เพียงเท่านี้ก็จะแก้ปัญหาเรื่องระเบียบของไฟล์ และสิทธิ์ของผู้ใช้งานไปได้แล้ว รวมถึงการกำหนดขอบเขตของการแพร่กระจายของไวรัสได้ด้วย จากนั้นก็อาจจะมีการจัดหาร Software Anti-virus มาลงเพื่อความปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้

ส่วนการแก้ปัญหาในเชิงที่ลึกขึ้น ก็อยู่ที่เรื่องของการออกแบบสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และการวางตัว Server และ Storage แล้วล่ะ อันนี้ก็จะต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการตั้งค่าอยู่เหมือนกัน

Internet ช้า

ข้อนี้ เนื่องจากปัญหาสุด Classic อย่างนี้สมควรขึ้นไปอยู่ที่ 1 ด้วยซ้ำ แต่ในผลสำรวจกลับอยู่เพียงแค่ที่ 3 ซึ่งจริงๆ ปัญหา Internet ช้า ที่ ISP, ช้าที่ DNS, ช้าตอนเข้าระบบ รอ DHCP นาน, ช้าที่ Wireless, ช้าเพราะ Anti-virus, ช้าเพราะ Firewall, ช้าเพราะ IPS, ช้าเพราะ Proxy, ช้าเพราะระบบ Security อื่นๆ, ช้าเพราะมีคน Load เยอะ หรือแม้กระทั่งช้าที่ Browser ที่ใช้ นี่ขนาดรวมหลายเรื่องมาอยู่ในเรื่องเดียว ยังได้แค่ที่ 3 เองแต่จริงๆ ถ้าอ่านดีๆ จะเห็นค่ะว่าปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ คือ ปัญหาของระบบเครือข่ายโดยตรง” ค่ะ  ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบระบบเครือข่ายที่ไม่ดี หรือแม้แต่การต้องใช้อุปกรณ์ที่ประสิทธิภาพไม่สูงพอ อาจจะเนื่องจากงบประมาณ หรือการประเมินที่ผิดพลาดมีวิธีการแก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายขององค์กรหนึ่งที่อยากจะหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในกรณีนี้ คือ เมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม และค้นหาจนเจอต้นตอแล้ว หรืออาจจะยังไม่แน่ใจ เค้าจะ Replace หรือทำ Lab Test ที่จุดนั้นๆ ด้วย Software Opensource แทน เนื่องจากสามารถ Monitor ได้ละเอียด รวมถึงทำการแก้ไข Parameter ต่างๆ ในเชิงลึกได้ค่อนข้างเยอะ ซึ่งถึงแม้จะไม่มี Feature ที่เป็นการตลาดมากนัก แต่การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการนี้ก็เป็นการแก้ไขปัญหาแทบจะทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กัน ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ดูแลระบบได้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นมากขึ้น เนื่องจากพอเล่น Opensource ไปลึกๆ แล้ว ก็จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและ Protocol มากขึ้น จนสามารถแก้ปัญหาได้
  2. สามารถออกแบบระบบใหม่ได้ด้วยตัวเอง หลังจากที่มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและปัญหามากพอ โดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานภายนอก และไม่ต้องรองบประมาณ
  3. สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่ามากๆ อย่างเช่น Firewall ขนาด 5-10 Gbps หากใช้ Opensource มาทำ อาจจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เกินกว่าครึ่ง และทำให้ในหนึ่งช่วงปีงบประมาณ สามารถแก้ไขปัญหาไปได้หลายเรื่องมากขึ้น โดยใช้งบซื้อเพียงแค่ Server ที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น หรือบางครั้งอาจถึงขั้นใช้ PC เก่าๆ ทำก็เป็นได้ เครื่องพังก็แค่สลับ Harddisk เอา แล้วเมื่อระบบเริ่มช้าอีกเมื่อไหร่ ก็อาจจะทำการปรับแต่งค่าในเชิงลึกดูก่อน แล้วถ้าไม่ไหวแล้ว ค่อยทำการ Upgrade Hardware ใหม่ได้โดยไม่ต้องซื้อใหม่หมด ก็ประหยัดไปได้หลายอยู่
  4. เมื่อมีงบประมาณเหลือ ก็สามารถนำไปใช้จัดซื้ออุปกรณ์ที่ไม่สามารถทำเองได้ และจำเป็นจริงๆ มาใช้ได้ครับ อีกทั้งยังจะทำให้มีความรู้มากพอที่จะออกแบบความต้องการของระบบที่ต้องการได้อย่างชัดเจน คุยกับทาง System Integrator ได้อย่างตรงประเด็นมากขึ้น และเสียเวลาน้อยลงด้วย

ด้วย 4 ข้อที่กล่าวมา ผู้ดูแลระบบอาจจะเหนื่อยในช่วงแรกๆ  แต่เมื่อมีความรู้ มีประสบการณ์มากขึ้น ความเหนื่อยก็จะน้อยลง ผลลัพธ์ในการทำงานก็จะดีขึ้น แต่เมื่อทุกอย่างนิ่งแล้ว มันก็จะนิ่งยาวเลยเพราะเราจะรู้ทุกอย่างในระบบ ทดลองเล่นเวลามีคนใหม่มาก็สามารถถ่ายทอดงานกันได้เต็มที่ และมีเวลาเอาไปทำโครงการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้องค์กรอีกมากมาย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *